From Peacock to Pigeon's Blood: Deconstructing Lotus Color Types

บทคัดย่อเรื่องการจำแนกสีทับทิมและแซฟไฟร์ ที่ใช้ในโลตัสเจมโมโลจี

หลายปีมานี้แล็บตรวจสอบอัญมณีได้รับการร้องขอ ให้ระบุประเภทสีลงไปในใบรายงานด้วยโดยเริ่มจากพัดพารัดชาแซฟไฟร์ และตอนนี้ก็ได้ขยายมาถึงอัญมณีอื่นๆ รวมทั้งทับทิมและแซฟไฟร์ด้วย

โลตัสเจมโมโลจีได้ศึกษา ค้นคว้า ศาสตร์ของทับทิมและแซฟไฟร์มาเกือบสี่ทศวรรษ เมื่อประกอบกับประสบการณ์มากมายที่เราได้ทำงานกับอัญมณีเหล่านี้มา เราจึงได้นำมาปรับใช้เป็นมาตรฐานในการจำแนกประเภทสีของทับทิม และซัฟไฟร์ คำนิยามเรื่องสีของเรามีรากฐานจากประวัติศาสตร์และประสบการณ์ ขณะเดียวกันเราก็เข้าใจดีว่า คำนิยามนั้นต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะระบุสีอัญมณีจากแหล่งใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ต่อไปนี้จะเป็นการแนะนำนิยามประเภทของสีสำหรับโลตัสเจมโมโลจี

รายงานของเราระบุประเภทของสีเนื่องจากมีลูกค้าเรียกร้องเข้ามา เราเข้าใจว่าลูกค้าต้องการหลักในการตัดสิน ว่าคุณลักษณะทับทิมแบบนี้จัดเป็น “pigeon’s blood (แดงเลือดนกพิราบ)” หรือแซฟไฟร์นี้สี “peacock blue (น้ำเงินขนนกยูง)” หรือไม่

แต่ขณะเดียวกัน การทำงานมาอย่างยาวนานในวงการก็ทำให้เราเข้าใจดีเช่นกันว่า เราไม่อาจกำหนดแบบแผนความสวยงามหรือความดึงดูดใจได้ เพราะนั่นเป็นรสนิยมเฉพาะตัว เหมือนกับการรับประทานซาชิมิ จะชอบหรือไม่ชอบ ยากที่จะโน้มน้าวหรือเปลี่ยนแปลงกันได้

ดังนั้นเราขอย้ำว่าเมื่อถึงที่สุดแล้ว การตัดสินคุณค่าของอัญมณีย่อมขึ้นอยู่กับบุคคล มิใช่ภาพถ่ายหรือผลการตรวจสอบ รูปภาพหรือคำพูดนั้นยากที่จะเทียบกับประสบการณ์ตรง เพราะถือเป็นสื่อที่มีความละเอียดน้อยสำหรับอธิบายสิ่งที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน ซึ่งไม่มีสิ่งใดดีไปกว่าการเห็นและสัมผัสด้วยตัวเอง

หมายเหตุ

  • “สี” ที่ปรากฏนั้นได้รับอิทธิพลจากการเจียระไน ความสะอาด ความสามารถในการดูดซับแสง และบางกรณีก็รวมถึงการเรืองแสงด้วย
  • แต่ละชื่อสีหมายรวมถึงเฉดของสี ไม่ใช่แค่สีที่เจาะจงแค่สีเดียว
  • สีบางสีที่สะท้อนเข้าสู่ตาของเราไม่สามารถพิมพ์หรือฉายขึ้นบนจอภาพได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “การอยู่นอกขอบเขต gamut สี (out of gamut)”
  • สีทุกสีจะเปลี่ยนแปลงไปตามพลังงานของแหล่งกำเนิดแสงในแต่ละความยาวคลื่นสเปคตรัม (spectral power distribution)

ประเภทสีของทับทิมและแซฟไฟร์โดยโลตัสเจมโมโลจี คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดประเภทสีของทับทิมและแซฟไฟร์โดยโลตัสเจมโมโลจี คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ทับทิมและแซฟไฟร์สีชมพู

เส้นแบ่งระหว่างแซฟไฟร์สีชมพูกับทับทิมเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมานานแล้ว อ่านโดยละเอียดได้ที่ Ruby, Pink Sapphire & Padparadscha • Walking the Line.

 

Pigeon’s Blood • พีเจี้ยนส์บลัดหรือเลือดนกพิราบ

จากการค้นคว้าของเรา สีนี้ปรากฏในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อปี 1829 มีทั้งที่บอกว่ามาจากจีนและที่บอกว่ามาจากอินเดีย แต่ทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่าใช้บรรยายสีที่งามที่สุดของทับทิมทับทิมส่วนใหญ่ของโมกก (พม่า) มักสีออกบานเย็น น้อยมากที่จะมีสีแดงสด ซึ่งเป็นสีที่มาจากการเรืองแสงของพลอย แต่ไม่เหมือนไฟแดงจราจรเสียทีเดียว สีพีเจี้ยนส์บลัดไม่ได้พบแค่ที่โมกก (พม่า) แต่ยังเจอที่มงซู (พม่า) เวียดนาม โมซัมบิก แทนซาเนีย และแหล่งอื่นๆด้วย อ่านเรื่องเกี่ยวกับพีเจี้ยนส์บลัด เพิ่มเติมได้ที่ Red Rain: Mozambique Ruby Pours into the Market.

 

บางครั้งสีพีเจียนส์บลัดก็หมายถึงสีตานกพิราบเป็นๆ คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดบางครั้งสีพีเจียนส์บลัดก็หมายถึงสีตานกพิราบเป็นๆ คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

พีเจี้ยนส์บลัดหรือเลือดนกพิราบพีเจี้ยนส์บลัดหรือเลือดนกพิราบ

Royal Red • รอยัล เรด

สีที่เข้มกว่าพีเจี้ยนส์บลัดหนึ่งเฉดสีนี้ ในพม่าเรียกกันเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “แดงเลือดกระต่าย (rabbit’s blood)” ทับทิมพวกนี้มักมีธาตุเหล็กผสมมากกว่าสีพีเจี้ยนส์บลัด ซึ่งไปลดการเรืองแสงและสะท้อนสีฟ้า ทำให้ตัวอัญมณีเข้มขึ้น แดงจัด ทับทิมสีรอยัล เรดมักมากจากโมซัมบิก ไทย/กัมพูชา เคนยา และมาดากัสการ์

ภาพหมอนด้านบนเป็นตัวอย่างสีรอยัลเรด ซึ่งเข้มกว่าพีเจี้ยนส์บลัดหนึ่งเฉด คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดภาพหมอนด้านบนเป็นตัวอย่างสีรอยัลเรด ซึ่งเข้มกว่าพีเจี้ยนส์บลัดหนึ่งเฉด คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

สีรอยัลเรดสีรอยัลเรด

Hot Pink • ฮอต พิ้งค์

สีนี้อาจเป็นสีของแซฟไฟร์ชมพูหรือทับทิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเห็นแต่ละบุคคล สิ่งที่ทำให้สีฮอต พิ้งค์ คำว่า “ฮอต” นั้น มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า อัญมณีเหล่านี้สะท้อนคลื่นแสงสีน้ำเงินจนถึงม่วงได้มากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยธาตุเหล็กค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับโครเมียมผลลัพธ์ที่ได้จึงออกแดงอมฟ้า และเรืองแสงสีแดงมากกว่า อัญมณีที่มีสีนี้มักเป็นเพราะมีส่วนประกอบธาตุเหล็กน้อย เกือบทั้งหมดมาจากชั้นหินหิมาลายัน (แหล่งที่พบอัญมณีสีนี้ได้แก่ ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน เนปาล พม่า เวียดนาม หยุนหนาน (จีน) รวมถึงแอฟริกาตะวันออก (โมซัมบิก แทนซาเนีย) ด้วย)

ฮอต พิ้งค์ฮอต พิ้งค์

Fuchsia • ฟิวเซีย

มาจากชื่อดอกฟิวเซียหรือดอกโคมญี่ปุ่น มีสีบานเย็นแดงเข้มจัด ออกจะแดงกว่าสีฮอต พิ้งค์ อัญมณีสีนี้มีที่มาจากหลายแหล่ง รวมทั้งพม่า ศรีลังกา โมซัมบิก เวียดนาม อัฟกานิสถาน และแทนซาเนีย

ดอกฟิวเซีย คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดดอกฟิวเซีย คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ฟิวเซียฟิวเซีย

แซฟไฟร์สีน้ำเงิน

Cornflower • คอร์นฟลาวเวอร์ 

แซฟไฟร์สีสวยๆมักถูกนำไปเปรียบกับสีดอกคอร์นฟลาวเวอร์ (ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง) ดังที่ปรากฏในภาพด้านล่าง สีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์มักพบในแหล่งเดียวกับแซฟไฟร์สีพาสเทล ถ้าพูดถึงความจัดจ้านของสี สีนี้จะอยู่ระหว่างสีฟ้า กับสีพีค็อกและรอยัลบลู ที่เข้มและข้นกว่า

สีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์สดใสมักใช้เปรียบกับแซฟไฟร์สีน้ำเงินคุณภาพดี คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดสีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์สดใสมักใช้เปรียบกับแซฟไฟร์สีน้ำเงินคุณภาพดี คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

สีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์สดใสมักใช้เปรียบกับแซฟไฟร์สีน้ำเงินคุณภาพดี คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดสีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์สดใสมักใช้เปรียบกับแซฟไฟร์สีน้ำเงินคุณภาพดี คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

คอร์นฟลาวเวอร์ คอร์นฟลาวเวอร์ 

Peacock • พีค็อก

 ที่ศรีลังกาแซฟไฟร์สีน้ำเงินที่สวยที่สุดบางเม็ดก็ถูกนำไปเทียบกับสีของขนคอหรือหางของนกยูง (peacock) เป็นสีน้ำเงินเจิดจ้าที่โดดเด่นสะดุดตาทีเดียว

แซฟไฟร์สีน้ำเงินสวยจากศรีลังกามักถูกนำไปเทียบกับสีของขนคอหรือขนหางนกยูง คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

แซฟไฟร์สีน้ำเงินสวยจากศรีลังกามักถูกนำไปเทียบกับสีของขนคอหรือขนหางนกยูง คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดแซฟไฟร์สีน้ำเงินสวยจากศรีลังกามักถูกนำไปเทียบกับสีของขนคอหรือขนหางนกยูง คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

พีค็อกพีค็อก

Velvet • เวลเว็ต

แซฟไฟร์สีน้ำเงินเวลเว็ตหรือน้ำเงินกำมะหยี่ เป็นสีที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญควานหากันมากที่สุด แซฟไฟร์เหล่านี้มีสีน้ำเงินที่เกือบจะเป็นโทนน้ำเงินโคบอล์ท มักมาจากแคชเมียร์ (อินเดีย) ศรีลังกา และมาดากัสการ์

ขวดสีน้ำเงินของยา “Milk of Magnesia” มักถูกนำมาเทียบกับแซฟไฟร์ที่มี “สีน้ำเงินเวลเว็ต” งดงาม คลิกภาพเพื่อขยายขนาดขวดสีน้ำเงินของยา “Milk of Magnesia” มักถูกนำมาเทียบกับแซฟไฟร์ที่มี “สีน้ำเงินเวลเว็ต” งดงาม คลิกภาพเพื่อขยายขนาด

เวลเว็ตเวลเว็ต

Royal • รอยัล

ในบรรดาสีสันทั้งหมดของทับทิมและแซฟไฟร์ สีรอยัล บลูเป็นสีที่พิมพ์หรือฉายบนสไลด์ยากที่สุด เพราะอยู่นอกขอบเขตของสีเครื่องพิมพ์ และสีบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ด้วย สีนี้เป็นสีน้ำเงินอมม่วงเข้มสด พบได้ในแซฟไฟร์คุณภาพดีจากสายแร่ของโมกกในพม่า นอกจากพม่าแล้ว แซฟไฟร์สีรอยัล บลูนี้ยังพบในมาดากัสการ์ เขตทุนดูรูในแทนซาเนีย และบางครั้งยังพบแซฟไฟร์สีนี้แต่ขนาดเล็กลงมาในไพลิน (กัมพูชา) และไนจีเรียด้วย พลอยแทนซาไนท์ขนาดใหญ่หลายเม็ดก็ให้สีรอยัล บลูเช่นกัน

แซฟไฟร์สีรอยัล บลูจากสายแร่โมกกในพม่า แซฟไฟร์สีรอยัล บลูจากสายแร่โมกกในพม่า 

Indigo  อินดิโก

สีอินดิโกเป็นสีย้อมแบบโบราณ ได้จากพืชตระกูลอินดิโกหรือที่คนไทยเรียกว่าคราม ทุกวันนี้พบเห็นได้บ่อยสุดบนสีน้ำเงินของผ้ายีนส์ สีนี้จะต่างจากสีน้ำเงินบริสุทธิ์แบบคอร์นฟลาวเวอร์ พีคอก เวลเว็ต และรอยัลตรงที่สีจะเข้มกว่า แต่ความสดด้อยกว่าเล็กน้อย แซฟไฟร์สีอินดิโกพบได้ในหลายแหล่ง โดยเฉพาะในชั้นหินบะซอลท์ ซึ่งรวมถึงไทย มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย จีน และไนจีเรียเป็นต้น

สีย้อมอินดิโก คลิกภาพเพื่อขยายขนาดสีย้อมอินดิโก คลิกภาพเพื่อขยายขนาด

อินดิโกอินดิโก

Twilight • ทไวไลท์

สีน้ำเงินเข้มจัดของท้องฟ้าไม่กี่นาทีหลังดวงอาทิตย์ตก แซฟไฟร์สีน้ำเงินทไวไลท์ส่วนใหญ่มาจากชั้นหินบะซอลต์ ซึ่งอยู่ในออสเตรเลีย ไทย กัมพูชา ไนจีเรีย จีน และเวียดนาม

ท้องฟ้ายามสนธยาที่เมืองแซฟไฟร์ใกล้ Rubyvale รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ภาพ: Richard W. Hughes คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดท้องฟ้ายามสนธยาที่เมืองแซฟไฟร์ใกล้ Rubyvale รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ภาพ: Richard W. Hughes คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ทไวไลท์ทไวไลท์

แซฟไฟร์แฟนซี

Padparadscha • พัดพารัดชา

ว่ากันว่าสีของแซฟไฟร์ชนิดนี้เป็นส่วนผสมของสีดอกบัวและอาทิตย์อัสดง พัดพารัดชาน้ำงามเป็นแซฟไฟร์ที่มีมูลค่ามากรองจากแซฟไฟร์สีน้ำเงิน แหล่งกำเนิดของมันอยู่ที่ศรีลังกา แต่พัดพารัดชาคุณภาพดีก็พบได้จากมาดากัสการ์ แทนซาเนีย และเวียดนามเช่นกัน

พัดพารัดชาแซฟไฟร์ให้สีเดียวกับสีอาทิตย์ตกดินที่ศรีลังกา ภาพ: Wimon Manorotkul คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดพัดพารัดชาแซฟไฟร์ให้สีเดียวกับสีอาทิตย์ตกดินที่ศรีลังกา ภาพ: Wimon Manorotkul คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

พัดพารัดชาพัดพารัดชา

Lilac • ไลแลค

ตั้งชื่อตามดอกไลแลค แซฟไฟร์เหล่านี้ให้สีไล่ตั้งแต่ลาเวนเดอร์พาสเทลไปจนถึงม่วงเข้ม แซฟไฟร์สีไลแลคเราๆพบเห็นกันนั้น ได้มาจากศรีลังกา พม่า แทนซาเนีย และมาดากัสการ์

ดอกไลแลค คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดดอกไลแลค คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ไลแลคไลแลค

Mekong Whisky • สีแม่โขง

แซฟไฟร์สีเหลืองเฉดนี้เป็นที่ต้องการมากในตลาดเมืองไทย และได้ชื่อตามสีเหล้าแม่โขง อัญมณีเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากจันทบุรี ประเทศไทย ส่วนอัญมณีที่ผ่านการเผาจนได้สีอย่างเดียวกันมาจากศรีลังกา

แซฟไฟร์สีแม่โขงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดเมืองไทย คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดแซฟไฟร์สีแม่โขงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดเมืองไทย คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

สีแม่โขงสีแม่โขง

Pastel • พาสเทล

แซฟไฟร์ไม่ได้มีแต่สีสดๆเท่านั้น แต่ยังมีเฉดสีอ่อนหรือสีพาสเทลอีกด้วย แซฟไฟร์สีฟ้าหรือสีอื่นๆ แบบพาสเทล จะมาจากศรีลังกา พม่า แคว้นแคชเมียร์ มาดากัสการ์ แทนซาเนีย และรัฐมอนทานาในประเทศอเมริกา

ช่วงสีพาสเทล สีเหล่านี้ถูกกำหนดโดยค่าความสดที่ต่ำและโทนสีอ่อน คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดช่วงสีพาสเทล สีเหล่านี้ถูกกำหนดโดยค่าความสดที่ต่ำและโทนสีอ่อน คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

แซฟไฟร์สีพาสเทลแซฟไฟร์สีพาสเทล

lotus logo simple small

 

เกี่ยวกับสี

เป็นที่เข้าใจได้ว่า สีเป็นตัวแปรสำคัญในการประเมินมูลค่าอัญมณี ส่วนใหญ่แล้วอัญมณีที่มีสีสันดึงดูดกว่า ก็จะมีมูลค่ามากกว่า สีที่สดใส จัดจ้าน เข้มข้น ย่อมตราตรึงมากกว่าสีที่มืดเกินหรือสว่างไป อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นย่อมมีอยู่เช่นกัน เช่นพัดพารัดชาแซฟไฟร์น้ำงาม ซึ่งมีมูลค่าขึ้นได้ก็ด้วยสีโทนพาสเทลนุ่มนวลของมัน

โดยปกติแล้วมิติของสีสันจะแบ่งได้สามด้าน คือ เนื้อสี (hue) โทนสี (tone) และความสดของสี (saturation)

ในบรรดามิติทั้งสามของสี เนื้อสีจะกระจายเป็นวงกลมในแนวราบ ส่วนความสดของสีกระจายตัวในแนวตั้ง ค่าศูนย์อยู่ตรงกลาง และค่าสูงสุดอยู่ที่ขอบนอก ขณะที่ช่วงโทนสีต่างๆจะอยู่ในแนวดิ่ง จากโทนอ่อนสุดด้านบนไล่ลงไปหาโทนเข้มสุดด้านล่าง คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดในบรรดามิติทั้งสามของสี เนื้อสีจะกระจายเป็นวงกลมในแนวราบ ส่วนความสดของสีกระจายตัวในแนวตั้ง ค่าศูนย์อยู่ตรงกลาง และค่าสูงสุดอยู่ที่ขอบนอก ขณะที่ช่วงโทนสีต่างๆจะอยู่ในแนวดิ่ง จากโทนอ่อนสุดด้านบนไล่ลงไปหาโทนเข้มสุดด้านล่าง คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

Hue  ตำแหน่งสี

ตำแหน่งของสีต่างๆ เช่น แดง ส้ม เหลือง เขียว ฟ้า ม่วง ฯลฯ ในวงล้อสีนั้น สีบานเย็นจะอยู่ระหว่างแดงและม่วง ส่วนสีขาวและดำจะไม่มีเนื้อสีเลย ดังนั้นจึงเป็นกลางทางสี (‘ไม่มีสี’) สีน้ำตาลไม่มีเนื้อสีของตัวเอง แต่เป็นการรวมกลุ่มของเฉดสีที่มีความสดของสีน้อย (และมักมีโทนสีอ่อน) สีน้ำตาลจะอยู่ในแถบเนื้อสีสีเหลืองถึงสีส้ม

โดยปกติแล้ว อัญมณีที่สะท้อนเนื้อสีในเฉดแดง เขียว และน้ำเงิน (RGB) เข้าตาเรา จะได้รับความนิยมสูงสุด ดังนั้นตำแหน่งตรีเอกานุภาพแห่งโลกพลอยสีจึงได้แก่ ทับทิม มรกตและแซฟไฟร์ แต่สิ่งที่ต้องพิจารณายิ่งไปกว่านั้นในเรื่องของเนื้อสี ก็คือความชอบส่วนตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละบุคคลโดยแท้

วงล้อสี แสดงเนื้อสีเฉดต่างๆเป็นวงกลม คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดวงล้อสี แสดงเนื้อสีเฉดต่างๆเป็นวงกลม คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

Saturation • ความสดของสี

ความสดของสีหรือค่าสีทำให้สีต่างจากสีกลาง (ขาวและดำเป็นสีกลางสองสี ทั้งคู่ไม่มีเนื้อสีเลย) เมื่อพูดถึงอัญมณีที่มีเนื้อสีเดียวกัน (เช่นทับทิมซึ่งพื้นฐานเนื้อสีคือสีแดงทั้งหมด) คุณภาพสีจะขึ้นอยู่กับความสดของสี เพราะคนเรามักถูกดึงดูดด้วยสีที่สดกว่า ทับทิมที่แดงจัดเรืองแสงส่วนใหญ่มีความสดของสีมาก ตั้งมูลค่าของมันให้สูงกว่าอัญมณีอื่นๆที่ไม่มีความสดชนิดนี้ได้เลย

 

แท่งแนวดิ่งที่ตัดผ่านชั้นสีแสดงความเชื่อมโยงระหว่างโทนสีและความสดของสี สีเหลืองที่สดจัดที่สุดจะมีโทนอ่อนกว่าสีม่วง ขณะที่สีแดงและเขียวที่จัดจ้านที่สุดจะมีโทนที่เท่ากัน คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดแท่งแนวดิ่งที่ตัดผ่านชั้นสีแสดงความเชื่อมโยงระหว่างโทนสีและความสดของสี สีเหลืองที่สดจัดที่สุดจะมีโทนอ่อนกว่าสีม่วง ขณะที่สีแดงและเขียวที่จัดจ้านที่สุดจะมีโทนที่เท่ากัน คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ในรายงานของโลตัสเจมโมโลจีนั้น ความสดของสีจะถูกแบ่งเป็นห้าขั้น ไล่จากพาสเทล (pastel) ไปหาวิวิด (vivid) คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดในรายงานของโลตัสเจมโมโลจีนั้น ความสดของสีจะถูกแบ่งเป็นห้าขั้น ไล่จากพาสเทล (pastel) ไปหาวิวิด (vivid) คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

Tone โทนสี

โทนสีจะบอกค่าการดูดกลืนแสง เพื่อแสดงความอ่อนแก่ของสี สีขาวมีค่าโทนสี 0% ขณะที่สีดำค่าเป็น 100% หากให้ค่าความสดของสีสูงสุด บางสีจะเข้มกว่าสีอื่นโดยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น สีม่วงจัดจะเข้มกว่าสีเหลืองที่สดจัดที่สุด ขณะที่สีแดงและเขียวที่สดที่สุดจะมีค่าโทนสีเท่ากัน สังเกตได้ว่าเมื่อความสดของสีเพิ่มขึ้น ค่าโทนสีก็จะเพิ่มตาม (เนื่องจากแสงถูกดูดกลืนไปมากขึ้น) อย่างไรก็ตาม มีกรณีที่เมื่อเพิ่มค่าโทนสีแล้ว ความสดของสีกลับลดลงเหมือนกัน เช่น การทำให้สีดำขึ้น

ในการตัดสินคุณภาพอัญมณี โทนสีเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา การพิจารณาสภาพแสงซึ่งจะตกต้องอัญมณีขณะสวมก่อนจะซื้อนั้นถือเป็นความคิดที่ดี มองหาอัญมณีที่ดูดีแม้ใต้แสงสลัวแบบแสงยามเย็นหรือในภัตตาคาร เพราะนั่นเป็นสภาพแวดล้อมพิมพ์นิยมที่อัญมณีน้ำงามจะถูกสวมใส่และชื่นชม ควรสำรวจอัญมณีที่ความยาวสุดปลายแขนด้วย จงเสาะหาอัญมณีชนิดที่ยังคงสะดุดตาแม้มองอยู่ห่างๆ อัญมณีที่มีคุณภาพควรดูดีในทุกสภาพแสงและในระยะไกล

แม้สีบางสีจะได้รับความนิยมกว่าสีอื่นๆ แต่ความชอบส่วนตัวยังคงสำคัญที่สุด สีที่ดีควรจะคงความสะดุดตาไว้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ใต้สภาพแสงแบบใด ไม่ว่าจะมองในร่มหรือกลางแจ้ง ในช่วงกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม

รายงานของโลตัสเจมโมโลจีแบ่งโทนสีเป็นห้าขั้น คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดรายงานของโลตัสเจมโมโลจีแบ่งโทนสีเป็นห้าขั้น คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

C.I.E. Chromaticity Diagram ถูกทำชึ้นเพื่อแสดงตำแหน่งสีที่ตาของมนุษย์มองเห็น จอคอมพิวเตอร์จะแสดงภาพสีที่เราเห็นได้ไม่ครบถ้วน (ด้งเช่นจอภาพ แสดงสีด้วย Adobe RGB) ยิ่งกว่านั้น สีหมึกพิมพื CMYK ที่ใช้กันทั่วไปในงานพิมพ์ลงบนกระดาษ หรือผืนผ้า ก็ยิ่งมีข้อจำกัดในความสดของสี สีของทับทิม และซัฟไฟร์ที่สดจัด ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้นี้ เรียกว่า out of gamut ดังนั้นเราจึงควรประเมินคุณภาพสีอัญณีด้วยการตรวจดูด้วยตาตนเอง ไม่ใช่จากรูปภาพ คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาดC.I.E. Chromaticity Diagram ถูกทำชึ้นเพื่อแสดงตำแหน่งสีที่ตาของมนุษย์มองเห็น จอคอมพิวเตอร์จะแสดงภาพสีที่เราเห็นได้ไม่ครบถ้วน (ด้งเช่นจอภาพ แสดงสีด้วย Adobe RGB) ยิ่งกว่านั้น สีหมึกพิมพื CMYK ที่ใช้กันทั่วไปในงานพิมพ์ลงบนกระดาษ หรือผืนผ้า ก็ยิ่งมีข้อจำกัดในความสดของสี สีของทับทิม และซัฟไฟร์ที่สดจัด ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้นี้ เรียกว่า out of gamut ดังนั้นเราจึงควรประเมินคุณภาพสีอัญณีด้วยการตรวจดูด้วยตาตนเอง ไม่ใช่จากรูปภาพ คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

lotus logo simple small

บรรณานุกรมและเอกสารเพิ่มเติม

  • Brown, J.C. (1936) India’s Mineral Wealth. Calcutta, Oxford University Press, 1st ed., 335 pp.; RWHL.
  • Halford-Watkins, J.F. (2012) The Book of Ruby and Sapphire. Hong Kong, RWH Publishing, [edited by Richard W. Hughes from a 1934 manuscript], 434 pp.; RWHL*.
  • Hertz, B. (1839) A Catalogue of the Collection of Pearls and Precious Stones Formed by Henry Philip Hope, Esq. London, William Clowes and Sons, 112 pp., 42 plates; RWHL*.
  • Hughes, R.W. (1987) Ruby or pink sapphire? A lesson from the past. Gemological Digest, Vol. 1, No. 1, p. 3, RWHL*.
  • Hughes, R.W. (1990) Corundum. Butterworths Gem Books, Northants, UK, Butterworth-Heinemann, 314 pp., RWHL*.
  • Hughes, R.W. (1996) Pigeon’s blood. Momentum, Vol. 4, No. 13, Dec. 1996-Feb. 1997, pp. 18–21; RWHL*
  • Hughes, R.W. (1997) Ruby & Sapphire. Boulder, CO, RWH Publishing, 512 pp.; RWHL*.
  • Hughes, R.W. (2002) Walking the line in ruby & sapphireThe Guide, Vol. 21, Issue 4, Part 1, July–Aug., pp. 4–8; RWHL*.
  • Hughes, R.W. (2015) Red Rain: Mozmabique ruby pours into the market.
  • Maung Tun Oo (2010) World Famous Ruby Land. Yangon, [in Burmese and English], RWHL*.

  • Prinsep, J. and Kalíkishen, R. (1832) Oriental accounts of the precious minerals. Journal of the Asiatic Society of Bengal, Vol. 1, pp. 353–363; RWHL*.
  • Rees, A. (1819) Gems. In The Cyclopædia; or Universal Disctionary of Arts, Sciences, and Literature, London, Longman, Hurst, Rees, Orme, & Brown, 39 Vols., Vol. 15, see Gems; RWHL.
  • Shastri, J.L., ed. (1978) Garuda Purana. English translation 1978, Delhi, Motilal Banarsidass, Vol. 12, Part 1, see pp. 224–246; RWHL*.
  • Smith, H.G. (1896) Gems and Precious Stones. Sydney, Charles Potter, 87 pp.; RWHL.
  • Streeter, E.W. (1892) Precious Stones and Gems. London, Bell, 5th edition, 355 pp.; RWHL*.
  • Tagore, S.M. (1879, 1881) Mani-Málá, or a Treatise on Gems. Calcutta, I.C. Bose & Co., 2 Vols., 1046 pp.; RWHL*.
  • Tennent, J.E. (1859) Ceylon: An Account of the Island, Physical, Historical and Topographical. London, Longman, Green, Longman, and Roberts, 2 Vols., 702 pp.; RWHL.